คู่มือการสอบเข้าวิทยาลัยดนตรี ม.รังสิต – อัพเดท 2023

วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นอีกมหาวิทยาลัยหนึ่งที่มีอุปกรณ์การเรียนครบครันและทันสมัย มีศูนย์เทคโนโลยีดนตรี ซึ่งประกอบด้วยห้องบันทึกเสียงจำนวน 6 ห้อง ห้องซ้อมดนตรีสำหรับซ้อมเดี่ยวจำนวนมาก และห้องซ้อมรวม
วงดนตรีประเภทต่าง ๆ ห้องเรียนวิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีแต่ละประเภท ห้องเรียนวิชาบรรยายที่มีอุปกรณ์ครบครัน อีกทั้งมีหอแสดงดนตรีหลากหลายขนาดให้นักศึกษาได้จัดการแสดง ในหอแสดงดนตรีที่มีคุณภาพสูง “ศาลาดนตรีสุริยเทพ” เป็นหอแสดงดนตรีขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับผู้ชมได้ถึง 1,100 ที่นั่งเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีโรงละคร “BLACK BOX THEATER” สำหรับการแสดงละครเพลงและงานดนตรีร่วมสมัย และ “หอแสดงดนตรีขนาดเล็ก” สำหรับจัดกิจกรรมเล็กๆอีกด้วยค่ะ

ครูได้ทำตารางเปรียบเทียบมหาวิทยาลัยดนตรี 5 แห่งในอีกบทความหนึ่ง สามารถคลิกดูได้ที่นี่ เรียนดนตรีมหาวิทยาลัยไหนดี- เปรียบเทียบ ม. ดนตรี 5 แห่ง และครูได้เขียนบทความเกี่ยวกับ เตรียมสอบเข้าเอกดนตรีต้องสอบทฤษฎีเรื่องอะไรบ้าง สามารถคลิกอ่านรายละเอียดได้ ที่นี่

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะดนตรี ม. รังสิต มีอะไรบ้าง

วิทยาลัยดนตรีมีการเรียนการสอน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ระดับปริญญาตรี) มี 10 สาขาและหลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ระดับปริญญาโท) มี 4 สาขา

หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต มี 10 สาขา ดังนี้

  • การผลิตดนตรี (MUSIC PRODUCTION)
  • เทคโนโลยีวิศวกรรมดนตรี(MUSIC ENGINEERING TECHNOLOGY)
  • การออกแบบเสียงและการประพันธ์เพลงประกอบสื่อ(SOUND DESIGN AND MEDIA COMPOSITION)
  • การประพันธ์เพลง (MUSIC COMPOSITION)
  • การประพันธ์เพลงสมัยนิยม (SONGWRITING)
  • การแสดงดนตรีคลาสสิก(INSTRUMENTAL PERFORMANCE)
  • การแสดงเปียโน (PIANO PERFORMANCE)
  • การแสดงกีตาร์คลาสสิก (GUITAR PERFORMANCE)
  • การแสดงขับร้อง(VOCAL PERFORMANCE: CLASSICAL, JAZZ, MUSICAL THEATRE, AND SINGER- SONGWRITER)
  • ดนตรีแจ๊สและการแสดงเชิงปฏิภาณ (JAZZ AND CONTERMPORARY IMPROVISED MUSIC)

หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต มี 4 สาขา ดังนี้

  • การแสดงและการสอนดนตรี(MUSIC PERFORMANCE AND PEDAGOGY)
  • การประพันธ์เพลง (MUSIC COMPOSITION)
  • ดนตรีแจ๊สศึกษา (JAZZ STUDIES)
  • ทฤษฎีดนตรี (MUSIC THEORY)

สำหรับบทความนี้ครูจะเน้นให้ข้อมูลเฉพาะในระดับปริญญาตรีนะคะ ใครที่สนใจรายละเอียดของระดับปริญญาโทขอให้ไปอ่านได้โดยตรงจากเว็บของคณะนะคะ

วิทยาลัยดนตรี ม.รังสิต มีสอบคัดเลือกทั้งหมดกี่รอบและเมื่อไหร่

ม. รังสิต คณะดนตรี มีสอบคัดเลือกทั้งหมด 6 รอบ โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้

  • รอบที่ 1 ช่วงเดือน ก.ย. – ต.ค. ของทุกปี
  • รอบที่ 2 ช่วงเดือน ต.ค. – พ.ย. ของทุกปี
  • รอบที่ 3 ช่วงเดือน พ.ย – ม.ค. ของทุกปี
  • รอบที่ 4 ช่วงเดือน ม.ค. -เม.ย. ของทุกปี
  • รอบที่ 5 ช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. ของทุกปี
  • รอบที่ 6 ช่วงเดือน มิ.ย. – ส.ค. ของทุกปี

และถ้านักเรียนที่อยากสอบเพื่อขอทุนจะต้องสมัครสอบเฉพาะในรอบ 1, 2 หรือ 3 เท่านั้นนะคะ

ค่าเทอมวิทยาลัยดนตรี ม. รังสิต ราคาเท่าไหร่

เนื่องจากวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นมหาวิทยาลัยที่มีอุปกรณ์ครบครัน ดังนั้นค่าเทอมก็ราคาไม่เบาเลยล่ะค่ะ เดี๋ยวเราไปดูกันว่าแต่ละสาขาค่าเทอมราคาเท่าไหร่กันบ้าง

สาขาที่เรียนค่าเทอมต่อปี (4ปี)ค่าเทอมตลอดหลักสูตร
(ไม่รวมค่าบำรุงการศึกษา 15,000 )
กลุ่มวิชาการประพันธ์เพลง
(Composition)
ปี 1 = 124,500
ปี 2 = 150,500
ปี 3 = 126,500
ปี 4 = 76,000
477,500
กลุ่มวิชาการแสดงดนตรีคลาสสิก
(Classical Performance)
ปี 1 = 154,500
ปี 2 = 132,500
ปี 3 = 131,500
ปี 4 = 109,500
528,000
กลุ่มวิชาการแสดงขับร้องคลาสสิก
Vocal Performance (Classical)
ปี 1 = 155,500
ปี 2 = 152,500
ปี 3 = 136,500
ปี 4 = 108,000
552,500
กลุ่มวิชาการแสดงขับร้องแจ๊ส
Vocal Performance (Jazz)
ปี 1 = 155,500
ปี 2 = 152,500
ปี 3 = 136,500
ปี 4 = 108,000
552,500
กลุ่มวิชาการแสดงขับร้องละครเพลง
Vocal Performance (Musical Theatre)
ปี 1 = 155,500
ปี 2 = 152,500
ปี 3 = 136,500
ปี 4 = 108,000
552,500
กลุ่มวิชาการแสดงขับร้องสำหรับนักร้องนักประพันธ์เพลงสมัยนิยม
Vocal Performance (Singer-Songwriter)
ปี 1 = 155,500
ปี 2 = 152,500
ปี 3 = 136,500
ปี 4 = 108,000
552,500
กลุ่มวิชาดนตรีแจ๊สและการแสดงเชิงปฏิภาณ
(Jazz and Contemporary Improvised Music)
ปี 1 = 150,500
ปี 2 = 138,500
ปี 3 = 136,500
ปี 4 = 86,500
512,000
กลุ่มวิชาการผลิตดนตรี
(Music Production)
ปี 1 = 137,500
ปี 2 = 152,500
ปี 3 = 116,500
ปี 4 = 56,500
463,000

วิทยาลัยดนตรี ม. รังสิต มีทุนการศึกษาไหม

สำหรับนักเรียนที่ต้องการขอทุนในการศึกษา ทาง ม. รังสิตก็มีการมอบทุนความสามารถพิเศษด้านดนตรีให้กับนักเรียนที่สมัครเข้าศึกษาทุกกลุ่มวิชา โดยให้ทุนกับนักเรียนที่มีคะแนนสอบปฏิบัติดนตรีที่โดดเด่น มีทั้งหมด 10 ทุนต่อปี เป็นทุนค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร 4 ปี จำนวนทุนละ 25% – 100% เป็นทุนการศึกษาซึ่งไม่มีข้อผูกมัดในการชำระคืนแต่อย่างใด ทั้งนี้ผู้ที่ต้องการสมัครเพื่อขอรับทุนการศึกษาต้องสมัครสอบคัดเลือกในครั้งที่ 1 หรือ 2 เท่านั้นนะคะ ลองดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Classical Music Presentation (rsu.ac.th)

การสอบเข้าวิทยาลัยดนตรีของ ม. รังสิตต้องสอบอะไรบ้าง

ในการสอบเข้าเรียนคณะดุริยางคศิลป ม. รังสิต นักเรียนจะต้องสอบ 3 อย่างได้แก่ 1. สอบปฏิบัติดนตรีโดยเลือกเล่น 2 เพลงจากเครื่องดนตรีเอก 2. สอบภาคทฤษฎีและโสตทักษะ โดยเนื้อหาการสอบทฤษฎีได้แก่ การอ่านโน้ต ขั้นคู่เสียง ทรัยแอด ศัพท์ทางดนตรี เครื่องหมายบอกจังหวะ

การสอบภาคปฏิบัติในแต่ละสาขาวิชา มีรายละเอียดดังนี้

  • กลุ่มวิชาการประพันธ์เพลง – แสดงเพลงเดี่ยว 2 เพลง ความยากประมาณเกรด 3 ของ Trinity/Royal , สอบ scale , ส่งผลงานการประพันธ์เพลง
  • กลุ่มวิชาการแสดงดนตรีคลาสสิก – แสดงเพลงเดี่ยว 2 เพลง ความยากประมาณเกรด 5 ของ Trinity/Royal, สอบ scale
  • กลุ่มวิชาการแสดงขับร้องคลาสสิก – แสดงเพลงเดี่ยว 2 เพลง ความยากประมาณเกรด 5 ของ Trinity/Royal , สอบ scale
  • กลุ่มวิชาการแสดงขับร้องแจ๊ส – ร้องบทเพลง Jazz Standard 2 เพลง , ร้อง scale
  • กลุ่มวิชาการแสดงขับร้องละครเพลง – เลือกบทเพลงจากละครเวทีจำนวน 2เพลง (อย่างน้อย 1 ใน 2 เพลงต้องเป็นเพลงภาษาอังกฤษ), แสดงความสามารถด้านการเต้น 30-60 วินำที, ร้อง scale
  • กลุ่มวิชาการแสดงขับร้องสำหรับนักร้องนักประพันธ์เพลงสมัยนิยม – เลือกบทเพลงจำนวน 2 เพลงที่แตกต่างกัน เช่น ต่างกันด้านจังหวะหรืออารมณ์เพลง ในสไตล์ใดก็ได้, ร้อง scale
  • กลุ่มวิชาดนตรีแจ๊สและการแสดงเชิงปฏิภาณ – บรรเลงบทเพลง Jazz Standards จำนวน 2 เพลง จาก 3 สไตล์ที่กำหนดให้ โดยเริ่มจากการบรรเลงทำนองและตามด้วยอิมโพรไวส์
  • กลุ่มวิชาการผลิตดนตรี – บรรเลงบทเพลง 2 เพลงที่ต่างสไตล์กันหรือจะเป็นเพลงที่ประพันธ์เองก็ได้, สอบเทคนิค

บุคคลที่มีชื่อเสียงของวิทยาลัยดนตรี ม. รังสิต

The Kastle
แนท บัณฑิตา อ. สอนร้องเพลง ม. รังสิต
O-PAVEE

คณะดนตรีของมหาวิทยาลัยรังสิตก็ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเพียบพร้อมทั้งในด้านสถานที่และบุคลากรเลยทีเดียวนะคะ มีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงหลายคนเลยทีเดียวค่ะ ใครที่สนใจเรียนต่อทางด้านดนตรีก็เตรียมตัวกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆเลยค่ะ พบกันใหม่กับบทความฉบับหน้าค่ะ