คู่มือการสอบเข้าคณะดุริยางคศาสตร์ ม. ศิลปากร

คณะดนตรี ม.ศิลปากรเปิดสอนทั้งหมดกี่ระดับ

หลักสูตรปริญญาตรีของ ม.ศิลปากรคณะดนตรีมีอะไรบ้าง

ค่าเทอมของคณะดนตรี ม.ศิลปากร ราคาเท่าไหร่

วิธีคัดเลือกนักศึกษาในหลักสูตรดุริยางคศาสตร์บัณฑิต

วิธีคัดเลือกนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

ช่วงเวลาในการการสอบเข้าคณะดนตรี ม. ศิลปากร

เตรียมความพร้อมในการสอบเข้าเรียนคณะดนตรีที่ ม.ศิลปากรอย่างไร

ทุนการศึกษาคณะดุริยางคศาสตร์และศิลปศาสตร ม.ศิลปากร มีอะไรบ้าง

การประกอบอาชีพหลังจากจบการศึกษาคณะดนตรีมีอะไรบ้าง

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงของคณะดนตรี ม.ศิลปากร มีใครบ้าง

ครูได้ทำตารางเปรียบเทียบมหาวิทยาลัยดนตรี 5 แห่งในอีกบทความหนึ่ง สามารถคลิกดูได้ที่ เรียนดนตรีมหาวิทยาลัยไหนดี- เปรียบเทียบ ม. ดนตรี 5 แห่ง

สำหรับเพื่อนๆที่อยากรู้ว่าเรียนเอกดนตรีระดับมหาวิทยาลัยนั้น มีเรียนวิชาอะไรบ้าง สนุกหรือยากง่ายอย่างไร คลิกอ่านบทความได้ที่ เอกดนตรีเรียนอะไรบ้างในระดับมหาวิทยาลัย

สำหรับเพื่อนๆที่ยังอ่านโน้ตไม่คล่องแต่อยากเรียนต่อดนตรี อย่าพลาดคอร์สเรียน การอ่านโน้ตฉบับสมบุรณ์ ในคอร์สนี้ครูจะสอนอย่างละเอียดและจะมีแบบฝึกหัดออนไลน์และแบบดาวน์โหลดทำมือมากกว่า 1000 ข้อ รับรองว่าเรียนจบคอร์สแล้วจะอ่านโน้ตคล่องอย่างแน่นอนค่ะ

สำหรับเพื่อนๆที่อยากเรียนเปียโนโดยเรียนเป็นขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ลองเช็คคอร์สเรียน เล่นเปียโนป๊อบได้ภายใน 10 วัน แม้ไม่มีพื้นฐานก็สามารถเล่นได้ค่ะ โดยครูจะสอนตัวอย่างเพลง 3 เพลงและนักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเพลงอื่นๆได้อีกเป็นพันๆเพลงเลยค่ะ

คณะดนตรี ม.ศิลปากรเปิดสอนทั้งหมดกี่ระดับ

มหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดสอนคณะดนตรีทั้งหมด 3 ระดับ ได้แก่ ระดับปริญญาตรี มี 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต มี 6 สาขา และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต มี 2 สาขา ระดับปริญญาโท มี 1 สาขาคือ สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา และระดับปริญญาเอก มี 1 สาขาคือ สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา

วันนี้ครูจะมาพูดถึงรายละเอียดของระดับปริญญาตรีเท่านั้นนะคะ สำหรับใครที่สนใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกสามารถไปเช็คดูได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยนะคะ

หลักสูตรปริญญาตรีของ ม.ศิลปากรคณะดนตรีมีอะไรบ้าง

หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต

  • ดนตรีคลาสสิก
  • ดนตรีและสื่อสร้างสรรค์
  • ดนตรีแจ๊ส
  • ดนตรีเชิงพาณิชย์
  • ละครเพลง
  • ผู้ประกอบการดนตรีศึกษา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

  • ธุรกิจดนตรีและบันเทิง
  • การจัดการ idolและ influencer

ค่าเทอมของคณะดนตรี ม.ศิลปากร ราคาเท่าไหร่

หลักสูตรดุริยางคศาสตร์บัณฑิต

เทอมละ 69,000 (ยกเว้นเทอมแรก 72,350) ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 555,350

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

เทอมละ 54,000 (ยกเว้นเทอมแรก 57,350) ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 435,350

วิธีการคัดเลือกนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะดนตรีของมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นอย่างไร

วิธีการคัดเลือกนักศึกษาของคณะดนตรีจะแบ่งเป็น 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต ซึ่งเกณฑ์การรับสมัครจะมีทั้งหมด 3 รอบคือ 1.รอบแฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) 2.รอบโควต้า (Quota) 3. รอบ Admission โดยทั้งสองหลักสูตรจะมีเกณฑ์การรับสมัครแตกต่างกันเล็กน้อย

1.วิธีคัดเลือกนักศึกษาในหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต

ในการคัดเลือกนักศึกษาเพื่อเข้าเรียนต่อในหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิตนั้น จะสอบผ่านระบบ TCAS ซึ่งจะมีสอบทั้งหมด 3 รอบดังนี้

รอบ 1 แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


โครงการการรับนักศึกษาด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต

จำนวนที่รับเข้าศึกษา 50 คน แยกเป็น 6 วิชาเอก ดังนี้

วิชาเอกดนตรีคลาสสิกจำนวน 10 คน
วิชาเอกดนตรีและสื่อสร้างสรรค์จำนวน   5 คน
วิชาเอกดนตรีแจ๊สจำนวน 10 คน
วิชาเอกดนตรีเชิงพาณิชย์จำนวน 10 คน
วิชาเอกละครเพลงจำนวน   5 คน
วิชาเอกผู้ประกอบการดนตรีศึกษาจำนวน 10 คน

เกณฑ์การพิจารณานักเรียนหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิตรอบที่ 1

  1. Portfolio (60 คะแนน) จำนวนไม่เกิน 10 หน้า (ไม่รวม ปก คำนำ สารบัญ)
  2. สัมภาษณ์ (40 คะแนน)
  • ผู้ผ่านการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน เข้าสอบสัมภาษณ์ตามวิชาเอก ดังนี้
    • สำหรับวิชาเอกดนตรีคลาสสิก เข้าสอบสัมภาษณ์และแสดงความสามารถทางด้านดนตรี
    • สำหรับสำหรับวิชาเอกดนตรีและสื่อสร้างสรรค์ เข้าสอบสัมภาษณ์ และแสดงความสามารถทางด้านดนตรี
    • สำหรับวิชาเอกดนตรีแจ๊ส เข้าสอบสัมภาษณ์ และแสดงความสามารถทางด้านดนตรี 
    • สำหรับวิชาเอกดนตรีเชิงพาณิชย์ เข้าสอบสัมภาษณ์และแสดงความสามารถทางด้านดนตรี
    • สำหรับวิชาเอกละครเพลง เข้าสอบสัมภาษณ์ และแสดงความสามารถทางด้านดนตรีโดยต้องเตรียมนักเปียโนบรรเลงประกอบหรือแบ็คกิ้งแทร็คมาด้วย
    • สำหรับวิชาเอกผู้ประกอบการดนตรีศึกษา เข้าสอบสัมภาษณ์หัวข้อ ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดนตรี, ทัศนคติเกี่ยวกับธุรกิจดนตรี และแสดงความสามารถทางด้านดนตรี

รอบ 2 โควตา (Quota ) 


โครงการนักเรียนผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษทางด้านดนตรี หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต

จำนวนที่รับเข้าศึกษา 76 คน แยกเป็น 6 วิชาเอก ดังนี้

วิชาเอกดนตรีคลาสสิกจำนวน 10 คน
วิชาเอกดนตรีและสื่อสร้างสรรค์จำนวน 10 คน
วิชาเอกดนตรีแจ๊สจำนวน 15 คน
วิชาเอกดนตรีเชิงพาณิชย์จำนวน 20 คน
วิชาเอกละครเพลงจำนวน 10 คน
วิชาเอกผู้ประกอบการดนตรีศึกษาจำนวน 10 คน

รอบ 3 รับตรงอิสระ (จะตรงกับรอบ 4 TCAS)

ซึ่งจะเปิดรับสมัครช่วงเดือน พฤษภาคม ของทุกปี สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Admission Silpakorn University (su.ac.th)

ครูเขียนบทความเกี่ยวกับ การเตรียมตัวสอบเข้าเรียนดนตรีระดับมหาวิทยาลัย ต้องสอบทฤษฎีดนตรีเรื่องอะไรบ้าง สามารถคลิกเข้าไปอ่านดูได้เลยค่ะ

2.วิธีคัดเลือกนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

รอบ 1  แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) 

โครงการการรับนักศึกษาด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมบันเทิง จำนวนที่รับเข้าศึกษา 40 คน แยกเป็น 2 วิชาเอก ดังนี้

วิชาเอกธุรกิจดนตรีและบันเทิง  จำนวน 25 คน
วิชาเอกการจัดการและพัฒนาไอดอลและอินฟลูเอนเซอร์จำนวน 15 คน

เกณฑ์การพิจารณานักเรียนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตรอบที่ 1

  1. Portfolio (80 คะแนน) จำนวนไม่เกิน 10 หน้า (ไม่รวม ปก คำนำ สารบัญ)
  2. สัมภาษณ์ (20 คะแนน) ณ คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

รอบ 2 โควตา (Quota) 

โครงการส่งเสริมเยาวชนสู่อุตสาหกรรมธุรกิจดนตรีและบันเทิง หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมบันเทิงจำนวนที่รับเข้าศึกษา 20 คน แยกเป็น 2 วิชาเอก

วิชาเอกธุรกิจดนตรีและบันเทิงจำนวน 10 คน
วิชาเอกการจัดการและพัฒนาไอดอลและอินฟลูเอนเซอร์ จำนวน 10 คน

สำหรับวิชาเอกธุรกิจดนตรีและบันเทิง

  • คะแนนวิชาหลัก ความถนัดทั่วไป (GAT) และความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT) (60 คะแนน)
    • วิชาหลัก (วิชาสามัญ 9 วิชา) 20 คะแนน
      • วิชา 09 ภาษาไทย
      • วิชา 19 สังคมศึกษา
      • วิชา 29 ภาษาอังกฤษ
    • ความถนัดทั่วไป(GAT) และความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT)
      • วิชา 85 ความถนัดทั่วไป (GAT) 20 คะแนน
      • วิชา 71 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ (PAT1) 20 คะแนน
    • สัมภาษณ์ (40 คะแนน)

สำหรับวิชาเอกการจัดการและพัฒนาไอดอลและอินฟลูเอนเซอร์

  • คะแนนวิชาหลัก ความถนัดทั่วไป (GAT) และความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT) (40 คะแนน)
    • วิชาหลัก (วิชาสามัญ 9 วิชา) 20 คะแนน
      • วิชา 09 ภาษาไทย
      • วิชา 19 สังคมศึกษา
      • วิชา 29 ภาษาอังกฤษ
    • ความถนัดทั่วไป(GAT) และความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT)
      • วิชา 85 ความถนัดทั่วไป (GAT) 10 คะแนน
      • วิชา 71 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ (PAT1) 10 คะแนน
    • Portfolio (10 คะแนน)
    • สัมภาษณ์(50 คะแนน)
      • ณ คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
      • ผู้ผ่านการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน เข้าสอบสัมภาษณ์และทดสอบความสามารถ ดังนี้
      • ทักษะการร้องเพลงตามความถนัดของผู้สมัคร
      • ทักษะการร้องเพลงตามความถนัดของผู้สมัคร

รอบ 3 รับตรงอิสระ (จะตรงกับรอบ 4 TCAS)

ซึ่งจะเปิดรับสมัครช่วงเดือน พฤษภาคม ของทุกปี สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Admission Silpakorn University (su.ac.th)

ช่วงเวลาในการการสอบเข้าคณะดนตรี ม. ศิลปากร

รอบที่ 1 รอบยื่นแฟ้มผลงาน (Portfolio)

รับสมัครในช่วง ตุลาคม – พฤศจิกายนของทุกปี

รอบ 2 โควต้า

รับสมัครในช่วง กุมภาพันธ์ – มีนาคมของทุกปี

รอบ 3 รับตรงอิสระ (จะตรงกับรอบ 4 TCAS)

รับสมัครในช่วงเดือน พฤษภาคมของทุกปี

เตรียมความพร้อมในการสอบเข้าเรียนคณะดนตรีที่ ม.ศิลปากรอย่างไร

สำหรับนักเรียนที่สนใจอยากเรียนต่อคณะดนตรีที่ ม. ศิลปากร ก็สามารถเข้าอบรมแคมป์เตรียมตัวสอบเข้าที่ทางมหาวิทยาลัยจัดไว้ได้เลยค่ะ โดยรายละเอียดของคอร์สเป็นดังนี้

หลักสูตรเตรียมความพร้อมสู่อุดมศึกษา (Entrance Examination Tutoring Course: ETC)

เป็นหลักสูตรที่เน้นการเตรียมความพร้อมในการสอบ ทั้งในรายวิชาทฤษฎีดนตรี โสตทักษะ และ ปฏิบัติดนตรี โดยแบ่งการสอนเป็นสาขาดนตรีคลาสสิก สาขาดนตรีแจ๊ส และสาขาดนตรีเชิงพาณิชย์ ขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้เรียน

รูปแบบการเรียน: กำหนด 1 คอร์ส  มี 10 ครั้ง  หลักสูตรเข้มข้น 1-2 เดือน

ประเภทชั้นเรียนทฤษฎีดนตรีโสตทักษะคอมพิวเตอร์สำหรับนักดนตรีปฏิบัติดนตรี
เรียนเดี่ยว8,000.-8,000.-8,000.-9,600.-/12,000.-
เรียนกลุ่ม (2-4 คน)6,000.-6,000.-6,000.-
เรียนกลุ่ม (5-10 คน)4,800,-4,800,-4,800,-

ถ้าใครไม่สะดวกในเรื่องของค่าใช้จ่ายก็สามารถให้ครูที่สอนเราติวให้ก็ได้ค่ะ โดยสิ่งที่นักเรียนจะต้องเตรียมตัวก็จะมีในเรื่องดังนี้

  1. การสอบปฏิบัติเครื่องดนตรีเอก – ก็จะเป็นการสอบเครื่องดนตรีที่เราเลือกนั่นเองค่ะ ถ้ามีวุฒิสอบเกรดต่างๆหรือการแข่งขันก็สามารถนำมายื่นเพิ่มเติมได้ค่ะ
  2. การสอบในภาคทฤษฎีดนตรี – เรื่องการอ่านโน้ต ขั้นคู่เสียง ทรัยแอด เครื่องหมายบอกคีย์ เครื่องหมายบอกจังหวะ
  3. โสตทักษะ – จะเป็นการทดสอบในเรื่องของความแม่นยำของหูค่ะ เรื่องที่สอบก็คล้ายๆกับภาคทฤษฎีค่ะ
  4. วิชาสอบเฉพาะของแต่ละสาขา – สามารถสอบถามรายละเอียดได้กับทางศิลปากรเลยค่ะ

ทุนการศึกษาคณะดุริยางคศาสตร์และศิลปศาสตร ม.ศิลปากร มีอะไรบ้าง

สำหรับใครที่กำลังดูๆอยู่ว่าจะเรียนดนตรีที่คณะดุริยางคศาสตร์ ม. ศิลปากร แต่ติดเรื่องค่าเทอมที่ค่อนข้างแพง วันนี้ครูลิสท์รายการทุนที่ทางคณะดุริยางคศาสตร์ ม. ศิลปากร ได้สนับสนุนช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนดีหรือขาดแคลนมาให้นักเรียนดู เผื่อเอาไว้เป็นช้อยส์ให้เลือกเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาตรีนะคะ

ทุนเรียนดี เป็นทุนการศึกษาที่มอบให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 – 4 ที่ได้เกรดเฉลี่ยสูงสุดของแต่ละสาขาแต่ละชั้นปี โดยพิจารณาจากเกรดเฉลี่ยของเทอมที่ผ่านมาและภายในเทอมนั้น นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต ทุนเรียนดีจะมีทั้งหมด 16ทุน สาขาละ 1 ทุน ทุนละ5,000 บาท

ทุนดุริยสังคีต เป็นทุนการศึกษาต่อเนื่องตลอดหลักสูตรให้กับนักเรียนและบุคคลทั่วไป ในการเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีและโท หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต

ทุนสร้างชื่อเสียง ทุนสำหรับนักศึกษาที่ได้ทำชื่อเสียงอันดีงามให้แก่มหาวิทยาลัย ด้วยการประกวดแข่งขันหรือวิธีอื่นๆ

ทุนภายนอก เป็นทุนการศึกษาต่อเนื่องตลอดหลักสูตรให้กับนักเรียนและบุคคลทั่วไปที่ได้รับสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ในการเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีและโท หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุน สร้างบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ ทางด้านดนตรีและธุรกิจดนตรี ที่โดดเด่น สามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่คณะดุริยางคศาสตร์

ทุนมหาวิทยาลัย เป็นทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ สนับสนุนนักศึกษาในแต่ละภาคการศึกษา

ทุน กยศ. เป็นทุนกู้ยืมสำหรับนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ซึ่งหลังจากจบการศึกษาแล้วจะต้องชำระทุนคืนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ

การประกอบอาชีพหลังจากจบการศึกษาคณะดนตรีมีอะไรบ้าง

หลายคนอาจจะลังเลหรือไม่แน่ใจว่าหลังจากจบปริญญาตรีด้านดนตรีแล้วนั้นจะสามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง เพราะเชื่อว่ามีหลายๆบ้านที่พ่อแม่พี่น้องค่อนข้างขัดใจว่าถ้าเราเรียนดนตรีไปแล้วจะไม่มีงานทำ เราไปดูกันดีกว่าว่าเรียนดนตรีไปแล้วสามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง

หลังจากจบปริญญาตรีทางด้านดนตรี สามารถประกอบอาชีพได้ดังนี้ นักดนตรี ครูสอนดนตรี นักวิชาการดนตรี นักประพันธ์เพลงและเรียบเรียงเสียงประสาน ผู้ควบคุมการผลิตดนตรี ผู้ควบคุมห้องบันทึกเสียง นักออกแบบและตัดต่อเสียง นักประพันธ์เพลงเกมส์ นักวิจัยดนตรี ผู้ประกอบการดนตรี เจ้าของสถานประกอบการโรงเรียนดนตรี และอื่นๆ

พอจะได้อาชีพคร่าวๆแล้ว ทีนี้ลองไปดูกันดีกว่าว่าแต่ละสาขาวิชา พอเราเรียนจบไปแล้วสามารถไปประกอบอาชีพอะไรบ้างที่ตรงสายกับสาขาที่เราเลือก

สาขาวิชาอาชีพ
เอกดนตรีคลาสสิคนักดนตรี
ผู้สอนดนตรี
นักวิชาการดนตรี
นักวิจารณ์ดนตรี
ผู้ตัดสินดนตรี
เอกดนตรีแจ๊สนักดนตรี
ผู้สอนดนตรี
นักวิชาการดนตรี
นักวิจารณ์ดนตรี
ผู้ตัดสินดนตรี
เอกดนตรีและสื่อสร้างสรรค์นักประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานดนตรี
ผู้อำนวยเพลง
นักวิชาการดนตรี
นักวิจารณ์ดนตรี
ผู้ตัดสินดนตรี
เอกดนตรีเชิงพาณิชย์นักแต่งเพลง ประพันธ์ดนตรี และเรียบเรียงเสียงประสาน
ผู้ควบคุมการผลิตดนตรี
ผู้ควบคุมห้องบันทึกเสียง
นักออกแบบและตัดต่อเสียง
นักประพันธ์เพลงเกมส์
เอกละครเพลงนักประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานดนตรี
ผู้อำนวยเพลง
นักวิชาการดนตรี
นักวิจารณ์ดนตรี
ผู้ตัดสินดนตรี
เอกผู้ประกอบการดนตรีศึกษาบรรณาธิการทางด้านดนตรี
นักวิจัยดนตรี
ผู้ประกอบการดนตรี
เจ้าของสถานประกอบการโรงเรียนดนตรี
ผู้สอนดนตรี
เอกธุรกิจดนตรีและบันเทิงนักธุรกิจ หรือผู้ประกอบการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมบันเทิง
นักวิชาการด้านอุตสาหกรรมบันเทิง
ผู้สอนในสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ การตลาด ด้านธุรกิจบันเทิงและดนตรี
ผู้ประกอบการสายงานธุรกิจบันเทิง นักบริหารจัดการธุรกิจบันเทิงและการผลิต
นักการสื่อสารการตลาดทางด้านธุรกิจบันเทิง
นักพัฒนาธุรกิจบันเทิง
ผู้ประกอบการสายงานธุรกิจบริการ
นักบริหารจัดการธุรกิจบริการ
นักจัดงานและบริหารโครงการ
นักสื่อสารในการชี้นำผู้คน KOL (Key Opinion Leader) ในการตัดสินใจในธุรกิจต่าง ๆ
เอกการจัดการและพัฒนาไอดอลและอินฟลูเอนเซอร์นักธุรกิจ หรือผู้ประกอบการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมบันเทิง
นักวิชาการด้านอุตสาหกรรมบันเทิง
ผู้สอนในสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ การตลาด ด้านธุรกิจบันเทิงและดนตรี
ผู้ประกอบการสายงานธุรกิจบันเทิง นักบริหารจัดการธุรกิจบันเทิงและการผลิต
นักการสื่อสารการตลาดทางด้านธุรกิจบันเทิง
นักพัฒนาธุรกิจบันเทิง
ผู้ประกอบการสายงานธุรกิจบริการ
นักบริหารจัดการธุรกิจบริการ
นักจัดงานและบริหารโครงการ
นักสื่อสารในการชี้นำผู้คน KOL (Key Opinion Leader) ในการตั

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงของคณะดนตรี ม.ศิลปากร มีใครบ้าง

คณะดนตรีของม. ศิลปากรนั้นโด่งดังในเรื่องของดนตรีป๊อบและแจ๊สมากๆ มีนักศึกษาหลายคนที่อยู่ในวงการดนตรี และเข้าร่วมประกวดร้องเพลงรายการดังๆอย่าง The Star และ The Voice อย่าง แก้ม The Star, พีท The Star, กิ่ง The Star, เปอติ๊ด The Voice, เอ้ The Voice หรือจะเป็นวงดนตรีอย่าง ออม นักร้องนำวง Telex Telex, เต้ จากวง No More Tear และก็ยังมีศิษย์เก่าดังๆอีกเยอะมากเลยค่ะ

เปอติ๊ด The Voice
วง no more tear
วง Telex Telex

ตอนที่ครูเตรียมสอบเข้าศึกษาระดับมหาวิทยาลัยก็เคยคิดว่าอยากเรียนที่ม. ศิลปากรอยู่เหมือนกันเพราะครูชอบอาจารย์สอนเปียโนที่นั่นมากๆ แต่พอดีครูได้ทุนเกียรตินิยมจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล ตั้งแต่รอบแรก ก็เลยไม่ได้ไปสอบที่ ม.ศิลปากร หลานของครูก็ได้มีโอกาสไปเรียนที่ ม.ศิลปากรค่ะ ครูว่าคุณภาพก็ดีเลยค่ะโดยเฉพาะสาขาวิชาป๊อบหรือแจ๊ส ใครที่สนใจเรียนต่อที่นี่ ก็รีบเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆเลยค่ะ ที่นี่เค้ามีแคมป์สำหรับเตรียมความพร้อมด้วยค่ะ ยังไงก็ลองสอบถามเพิ่มเติมได้กับทางวิทยาลัยเลยค่ะ พบกันใหม่กับบทความฉบับหน้าค่ะ