สำหรับเพื่อนๆที่เพิ่งหัดเล่นเพลงป๊อบ เวลาที่เราเห็นคอร์ดเราก็จะเล่นตามคอร์ดที่เห็นใช่มั้ยคะ แต่สำหรับนักเปียโนที่เล่นเป็นมืออาชีพนั้น ส่วนใหญ่แล้วก็จะมีการเติมสีสันให้แก่คอร์ดเหล่านั้น เติมมากเติมน้อยแล้วแต่ความชอบของนักดนตรีแต่ละคนเลยค่ะ ซึ่งการเติมสีสันนั้นมีหลายวิธีมากๆ สำหรับวันนี้ครูจะมาสอนวิธีการใส่คอร์ด 9 ให้กับคอร์ดธรรมดาๆ อย่างคอร์ด C ให้เพราะขึ้นทันที ครูได้เขียนบทความไว้ก่อนหน้าเรื่องเดียวกันนี้แต่เป็นการเพิ่มคอร์ด 7 หากเพื่อนๆสนใจสามารถคลิกอ่านได้ที่ เล่นเปียโนป๊อบให้เพราะขึ้นทันทีด้วย color chord (1)
สำหรับเพื่อนๆที่สนใจเล่นเปียโนป๊อบ ครูมีคอร์สสอนเปียโนที่จะทำให้เพื่อนๆสามารถเล่นเปียโนได้ภายใน 10 วัน โดยไม่ต้องมีพื้นฐาน ในคอร์สนี้จะสอนการเปลี่ยนคอร์ดให้เร็ว การเล่น 2 มือ การเล่นประกอบการร้อง การเล่นคอร์ดให้เข้ากับสไตลฺ์เพลง เรียนจบคอร์สแล้วเพื่อนๆจะสามารถเล่นเพลงได้เป็นพันๆเพลง หากสนใจสามารถคลิกดูรายละเอียดคอร์สได้ ที่นี่ ค่ะ
เติมสีสันให้กับคอร์ด Major
ในบทความที่แล้วเราได้ใส่ color chord ให้กับคอร์ด Major โดยใช้คอร์ด 7 เป็นตัวช่วย สำหรับวันนี้เราจะมาเติมคอร์ด 7 และคอร์ด 9 ไปพร้อมๆกันค่ะ เราจะมาเริ่มจากคอร์ดง่ายๆเลยคือคอร์ด C Major และ F Major ค่ะ
1.เติมสีสันให้กับคอร์ด Major ด้วย Major7 และ Major 9
C Major นั้นก็จะประกอบไปด้วยโน้ตตัว C-E-G ซึ่งจะตรงกับตัวที่ 1-3-5 เราจะเติมตัวที่ 7 และ 9 เพื่อเพิ่มสีสันให้กับคอร์ด C เราก็จะได้โน้ตดังนี้ C-E-G-B-D
เนื่องจากเรามีโน้ตทั้งหมด 5 ตัว จึงเป็นการยากที่เราจะเล่นโน้ตทั้งหมดในมือเดียว ดังนั้นเราจึงจะแบ่งโน้ตนี้ให้มือขวาและมือซ้ายเล่น โดยเราจะเล่นมือซ้ายตัว C-E-G ส่วนมือขวาเราจะเล่นตัว G-B-D เพื่อนๆจะเห็นว่าครูเล่นโน้ตตัว G ซ้ำที่มือขวาอีกที ทั้งนี้เพื่อให้เราสามารถหาคอร์ด 7,9 ได้ง่ายยิ่งขึ้น ดูภาพประกอบ
เมื่อเพื่อนๆดูที่มือซ้ายจะเห็นว่าในคอร์ด C ครูจะเล่นด้วยมือซ้าย ส่วนมือขวานั้นเราจะนำเอาตัวที่ 5 ของคอร์ด C ซึ่งตรงกับตัว G มาสร้างเป็นคอร์ด Major เราก็จะได้ตัวโน้ต G-B-D ที่มือขวา (โน้ตตัว G และ B เป็นตัวที่ 7และ9 ของคอร์ด)
สำหรับคอร์ด F ก็ทำเช่นกัน เราก็จะเล่นคอร์ด F ที่มือซ้าย (F-A-C) ส่วนมือขวาก็นำตัว C ซึ่งเป็นตัวที่ 5 ของคอร์ดมาสร้างเป็นคอร์ด Major ก็จะได้เป็นตัว C-E-G ที่มือขวานั่นเอง
เราสามารถพลิกกลับคอร์ดที่มือขวาเพื่อให้เสียงที่แตกต่างกันได้ ส่วนใหญ่แล้วเราจะพยายามทำให้โน้ตนั้นติดกันมากที่สุด ซึ่งครูจะทำการพลิกกลับโน้ตดังนี้
จากรูปด้านบนจะเห็นว่าครูจะพลิกกลับคอร์ด G ที่อยู่ในห้องแรก โดยนำ B มาไว้ด้านล่างแทนเพื่อให้ชิดกับตัว G ส่วนในคอร์ด C ห้องที่ 2 นั้นไม่ได้เปลี่ยนเนื่องจากมันติดกันอยู่แล้วค่ะ
2. เติมสีสันให้คอร์ด Major ด้วย Cluster
หลังจากที่เพื่อนๆใส่คอร์ด 7 และ 9 ให้กับคอร์ด Major แล้ว ต่อไปเราจะมาทำให้มันเพราะขึ้นกว่าเดิมอีกด้วยการเติม Cluster คำว่า Cluster นั้นคือการเล่นโน้ตที่ติดๆกัน ซึ่งจะให้เสียงที่กัดกันเล็กน้อยแต่ก็ช่วยเพิ่มสีสันให้กับคอร์ดมากๆ ในที่นี้เราจะเพิ่ม Cluster โดยการใส่ตัวที่ 3 ของคอร์ดลงไปที่มือขวาดังนี้
จากตัวอย่างด้านบน ครูเพิ่มตัว E ซึ่งเป็นตัวที่ 3 ของคอร์ด C Major เพื่อทำให้เกิด Cluster ส่วนในคอร์ด F นั้นครูใส่ตัว A ซึ่งเป็นตัวที่ 3 ของคอร์ด F เพิ่มขึ้นเช่นกัน
3. เติมสีสันให้คอร์ด Major ด้วยการเล่นมือซ้ายเป็น Broken Chord
หลังจากที่เราได้โน้ตที่ต้องการแล้ว ต่อมาเราจะมาใส่ลูกเล่นที่มือซ้ายจากที่เล่น Block Chord ธรรมดา ตอนนี้เราจะมาเล่นเป็น Broken Chord กันบ้างค่ะ
จากในตัวอย่างด้านบนครูใส่มือซ้ายด้วยคอร์ด C แต่เลือกเอาตัวที่ 1และ 5 มาใช้เท่านั้น เราสามารถใส่มือซ้ายได้หลายแบบมากๆ อีกแบบที่นิยมก็คือการใส่ตัวที่ 1-3-5 ดังรูปด้านล่างค่ะ
เติมสีสันให้กับคอร์ด minor
1.เติมสีสันให้กับคอร์ดminor ด้วย minor7 และ Major 9
ครูจะทำคอร์ด C Major และ F Major ให้เพราะขึ้นด้วยการเติมคอร์ด minor7 และ Major9 โดยในคอร์ด Cm นั้นจะประกอบด้วยโน้ตตัว C-Eb-G ครูจะเติมตัว 7 และ 9 ดังนี้ C-Eb-G-Bb-D ในคอร์ด F ก็ทำเช่นเดียวกันคือจาก F-A-C ก็จะกลายเป็นตัว F-Ab-C-Eb-G สำหรับเพื่อนๆที่ไม่คล่องในการคิดขั้นคู่เสียง minor 7หรือ Major 9 การใช้วิธีนี้ก็จะยาก ดังนั้นเราจึงจะใช้วิธีดังนี้แทนค่ะ
เราจะแบ่งมือซ้ายและมือขวา โดยมือซ้ายจะเล่นคอร์ด C (C-E-G) มือขวาเราจะสร้างคอร์ดจากตัวที่ 5 คือตัว G แต่คราวนี้เราจะสร้างเป็นคอร์ด minor แทน ซึ่งคอร์ด G minor จะประกอบด้วยโน้ตตัว G-Bb-D
ในคอร์ด F เราก็จะคงคอร์ด F ไว้ที่มือซ้าย ส่วนมือขวาจะสร้างคอร์ด minor จากตัวที่ 5 ของคอร์ด F ซึ่งก็จะได้เป็นคอร์ด C minor ค่ะ
ครูต้องการให้เสียงที่ไพเราะขึ้นดังนั้นครูจึงจะทำการพลิกกลับเพื่อให้โน้ตแต่ละตัวนั้นใกล้กันมากขึ้น ซึ่งจะได้ดังนี้
2. เติมสีสันให้คอร์ด minor ด้วย Cluster
เพื่อเพิ่มสีสันให้กับคอร์ด minor มากขึ้นครูก็จะใส่ cluster โดยจะนำเอาตัวที่ 3 ของคอร์ดมาใส่ที่มือขวาดังนี้ค่ะ
3. เติมสีสันให้คอร์ด Major ด้วยการเล่นมือซ้ายเป็น Broken Chord
เช่นเดียวกับคอร์ด Major เราสามารถเล่นมือซ้ายเป็น Broken Chord โดยเล่นเป็นตัวที่ 1และ5 หรือเล่นตัวที่ 1-3-5 ก็ได้ อย่าลืมว่าการเล่นมือซ้ายนั้นค่อนข้างอิสระ เราสามารถสลับตำแหน่งโน้ตไปมาตามความชอบของตัวเองได้เลยค่ะ
เพื่อนๆลองนำวิธีนี้ไปใช้กับคอร์ดอื่นๆได้เลยนะคะ แต่จำไว้ว่าวิธีนี้จะใช้ได้กับคอร์ด Major และ minor ค่ะ ถ้าเป็นคอร์ด 7 เราจะใช้วิธีอื่นค่ะ เอาไว้ครูจะมาอธิบายการใส่ color chord ให้กับคอร์ด 7 ในบทความหน้านะคะ
Leave a Reply