เรียนดนตรีมหาวิทยาลัยไหนดี- เปรียบเทียบ ม. ดนตรี 5 แห่ง

ปัจจุบันนี้การเรียนการสอนวิชาดนตรีนั้นเปิดกว้างมากขึ้น มีการเปิดคณะดนตรีในระดับมหาวิทยาลัยเกือบทุกแห่งเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยหลายๆแห่งยังเปิดสอนถึงระดับปริญญาเอกอีกด้วย เรียกว่าไม่ต้องไปเรียนต่อต่างประเทศกันเลย

มีคณะดนตรีระดับมหาวิทยาลัยดังนี้ 1. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม. มหิดล 2. คณะดุริยางคศาสตร์ ม. ศิลปากร 3. คณะศิลปศาสตร์และคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4. วิทยาลัยดนตรี ม.รังสิต 5. สถาบันดนตรีกัลยานิวัฒนา 6. คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ 7. คณะศิลปศาสตร์บัณฑิต ม.เกษตรศาสตร์ 8. คณะดนตรี ม.อัสสัมชัญ 9. คณะศิลปกรรม ม.ราชภัฏต่างๆ และอื่นๆ

นักเรียนที่อยากสอบเข้าคณะดนตรีในระดับมหาวิทยาลัยคงจะสับสนว่าจะเรียนที่ไหนดี วันนี้ครูได้เลือกมหาวิทยาลัยดนตรี 5 แห่งที่มีคุณภาพมาตรฐาน มาเปรียบเทียบเป็นตารางให้นักเรียนดูแบบชัดๆกันไปเลย ว่าแต่ละที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

นอกจากนี้ครูยังได้เขียนบทความเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยทั้ง 5 แห่งแบบละเอียด ทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอน การสอบเข้า ค่าเทอม การขอทุน และเรื่องอื่นๆอีกมากมายเอาไว้ด้วย ถ้านักเรียนสนใจมหาวิทยาลัยไหนเป็นพิเศษ ก็สามารถกดลิงค์ด้านล่างเพื่อดูข้อมูลได้เลยค่ะ

หากเพื่อนสนใจเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยทางดนตรี แต่ไม่รู้ว่าต้องสอบอะไรบ้าง ครูเขียนบทความ เตรียมสอบเข้าวิทยาลัยดนตรีสอบทฤษฎีดนตรีเรื่องอะไรบ้าง สามารถคลิกเข้าไปอ่านกันได้เลยค่ะ หรือหากใครสนใจเรียนดนตรีแต่ยังอ่านโน้ตไม่คล่อง ครูมี คอร์สเรียนอ่านโน้ตฉบับสมบูรณ์ ซึ่งจะมีแบบฝึกหัดให้ฝึกมากกว่า 1000 ข้อ เรียนจบแล้วจะอ่านโน้ตได้คล่องขึ้นมากๆ นอกจากจะช่วยในเรื่องการสอบทฤษฎีดนตรีแล้วยังช่วยในเรื่องการสอบภาคปฎิบัติดนตรีในส่วนของ sight reading อีกด้วย

คณะดนตรีในแต่ละสถาบันเปิดรับนักศึกษาในระดับใดบ้าง

สถาบันระดับการศึกษาที่เปิดสอน
ม. มหิดล ม. ปลาย – ปริญญาเอก
ม. ศิลปากรปริญญาตรี – ปริญญาเอก
ม. รังสิตปริญญาตรี – ปริญญาโท
ม. จุฬาปริญญาตรี – ปริญญาเอก
สถาบันกัลยาปริญญาตรี – ปริญญาโท

คณะดนตรีในระดับมหาวิทยาลัย มีการเปิดสอนสาขาอะไรบ้าง

คณะดนตรีนั้นมีการแบ่งย่อยเป็นหลายสาขา ซึ่งมหาวิทยาลัยบางเปิดรับเพียงแค่สาขาเดียว แต่บางแห่งก็เปิดให้เลือกหลายสาขาด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น สาขาเพื่อการแสดงดนตรี สาขาเทคโนโลยีดนตรี สาขาดนตรีสมัยนิยม สาขาการประพันธ์เพลง สาขาธุรกิจดนตรี สาขาดนตรีตะวันออก สาขาดนตรีสากลและอื่นๆ

ค่าเทอมของคณะดนตรีในระดับมหาวิทยาลัยราคาเท่าไหร่

ค่าเทอมของคณะดนตรีในระดับมหาวิทยาลัยมีราคาที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก มีราคาเทอมละหมื่นกว่าบาทไปจนถึงเทอมละเป็นแสน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆเช่น บางแห่งมีอุปกรณ์ครบครัน มีห้องซ้อม ห้องอัดเสียง ห้องแสดงดนตรี ห้องเรียนกลุ่ม และมีการจ้างครูต่างชาติมาสอนจึงทำให้ราคาค่าเทอมนั้นค่อนข้างแพง

คณะดนตรีของมหาวิทยาลัยต่างๆมีทุนการศึกษาไหม

คณะดนตรีระดับมหาวิทยาลัยมีทุนการศึกษาเพื่อสนับสนุนนักศึกษาในด้านต่อไปนี้ นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ นักเรียนที่เรียนดี นักเรียนที่โดดเด่นในการเล่นเครื่องดนตรี นักเรียนที่สร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย นักเรียนที่เข้าแข่งขันในระดับสากล ทุนกู้ยืม กยศ. ทุนสนับสนุนจากองค์กรภายนอก ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะให้ทุนที่แตกต่างกันออกไป

เปรียบเทียบสาขาวิชาและค่าเทอมและทุนของคณะดนตรีในแต่ละมหาวิทยาลัย (ปริญญาตรี)

สถาบันสาขาที่เปิดสอนค่าเทอม/ ปี
(เฉพาะปริญญาตรี)
ทุนการศึกษา
ม.มหิดล9 สาขา
– ปฏิบัติดนตรีคลาสสิค
– ดนตรีแจ๊ส
-การประพันธ์ดนตรี
-ละครเพลง
-ดนตรีสมัยนิยม
-ดนตรีไทยและดนตรีตะวันออก
-ธุรกิจดนตรี
-เทคโนโลยีดนตรี
-ดนตรีศึกษาและการสอน
626,120-728,100 บาท
(ขึ้นอยู่กับสาขาที่เลือกเรียน)
มีทนการศึกษา 7 ประเภท
– ขาดแคลนทุนทรัพย์
– เรียนดี
– เล่นดนตรีเก่ง
– สร้างชื่อเสียง
– ความประพฤติดี
– กองทุนกู้ยืม
– นักเรียนแลกเปลี่ยน
ม.ศิลปากรดุริยางคศาสตร์
-ดนตรีคลาสสิก
-ดนตรีและสื่อสร้างสรรค์
-ดนตรีแจ๊ส
-ดนตรีเชิงพาณิชย์
-ละครเพลง
-ผู้ประกอบการดนตรีศึกษา
ศิลปศาสตร์
-ธุรกิจดนตรีและบันเทิง
-การจัดการ idolและ influencer


ดุริยางศาสตร์ 555,350 บาท
ศิลปศาสตร์ 435,350 บาท
มีทุนการศึกษา 6 ประเภท
– เรียนดี
-ทุนการศึกษาต่อเนื่อง
-สร้างชื่อเสียง
-จากหน่อยงานนอก
-ขาดแคลนทุนทรัพย์
-ทุน กยส.
ม. รังสิตดุริยางคศาสตรบัณฑิต มี 10 สาขา
-การผลิตดนตรี
-เทคโนโลยีวิศวกรรมดนตรี
-การออกแบบเสียงและการประพันธ์เพลงประกอบสื่อ
-การประพันธ์เพลง
-การประพันธ์เพลงสมัยนิยม
-การแสดงดนตรีคลาสสิก
-การแสดงเปียโน
-การแสดงกีตาร์คลาสสิก
-การแสดงขับร้อง
-ดนตรีแจ๊สและการแสดงเชิงปฏิภาณ 
ศิลปศาสตร์ มี 4 สาขา
-การแสดงและการสอนดนตรี
-การประพันธ์เพลง
-ดนตรีแจ๊สศึกษา
-ทฤษฎีดนตรี
463,000-552,500 บาท
(ขึ้นอยู่กับสาขาที่เลือกเรียน)
มี 10 ทุนต่อปี เป็นทุนค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร 4 ปี
จำนวนทุนละ 25% – 100%
คัดเลือกนักเรียนจากการสอบปฏิบัติ
ม. จุฬาศิลปกรรมศาสตร์
-ดุริยางคศิลป์ไทย
-ดุริยางคศิลป์ตะวันตก
คุรุศาสตร์
-วิชาเอกดนตรีศึกษา
-วิชาเอกการสอนดนตรีไทย
-วิชาเอกการสอนดนตรีสากล
ศิลปกรรม 105,000 บาท
คุรุศาสตร์ 89,00 บาท
มีทุนการศึกษา 600 ล้านบาทต่อปี
– ทุนอุดหนุนการศึกษา
– ทุนรางวัลเรียนดี
-ทุนสร้างชื่อเสียงและทำคุณประโยชน์
-ทุนกู้ยืม กยศ.
-ทุนจากหน่วยงานภายนอก
สถาบันกัลยาไม่มีสาขาให้เลือกประมาณ 220,000 บาทนักเรียนที่ได้รับคัดเลือกทุกคนจะได้ทุนการศึกษาตามความเหมาะสม
– ทุนขาดแคลนทุนทรัพย์
– ทุนเรียนดี
– ทุนฉุกเฉิน
– ทุนบริจาคจากบุคคลหรือนิติบุคคลภายนอก

เครื่องดนตรีที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีของวิทยาลัยดนตรีต่างๆ

นักเรียนหลายๆคนคงจะมีมหาวิทยาลัยในใจกันบ้างแล้ว แต่อย่าลืมเช็คดูว่ามหาวิทยาลัยในฝันของเรานั้น มีเปิดสอนเครื่องดนตรีที่เราอยากเรียนหรือไม่ เพราะแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นไม่ได้เปิดรับเครื่องดนตรีทุกประเภทค่ะ บางที่เปิดสอนเครื่องดนตรีอิเล็กโทรนิคแต่บางที่ก็ไม่เปิดค่ะ บางที่มีสอนฮาร์ปแต่บางที่ก็ไม่มี เพื่อความแน่ใจว่ามหาวิทยาลัยในฝันของเรามีเปิดเครื่องดนตรีที่เราสนใจหรือไม่ มาเช็คดูกันเลยค่ะ

สถาบันเครื่องดนตรีที่เปิดสอนเครื่องดนตรีที่ไม่เปิดสอน
ม. มหิดล1.เครื่องลมเป่าไม้
(ฟลูท, คาริเน็ต, โอโบ, แซกโซโฟน, บาสซูน)
2. เครื่องลมเป่าทองเหลือง
(ฮอร์น, ทรัมเป็ต, ทรอมโบน, ยูโฟเนียม, ทูบา)
3. เครื่องสาย
(ไวโอลิน, วิโอลา, เชลโล, ดับเบิลเบส)
4. กีตาร์คลาสสิค, ไฟฟ้า
5. เปียโน
6. ขับร้องสากล
7. เครื่องกระทบ
8.ฮาร์ป
คีย์บอร์ด, อิเล็กโทน
ม. ศิลปากร1.เครื่องลมเป่าไม้
(ฟลูท, คาริเน็ต, โอโบ, แซกโซโฟน, บาสซูน)
2. เครื่องลมเป่าทองเหลือง
(ฮอร์น, ทรัมเป็ต, ทรอมโบน, ยูโฟเนียม, ทูบา)
3. เครื่องสาย
(ไวโอลิน, วิโอลา, เชลโล, ดับเบิลเบส)
4. กีตาร์คลาสสิค
5. เปียโน, อิเล็กโทน
6. ขับร้องสากล
7. เครื่องกระทบ
ฮาร์ป
ม. รังสิต1.เครื่องลมเป่าไม้
(ฟลูท, คาริเน็ต, โอโบ, แซกโซโฟน, บาสซูน)
2. เครื่องลมเป่าทองเหลือง
(ฮอร์น, ทรัมเป็ต, ทรอมโบน, ยูโฟเนียม, ทูบา)
3. เครื่องสาย
(ไวโอลิน, วิโอลา, เชลโล, ดับเบิลเบส)
4. กีตาร์คลาสสิค
5. เปียโน, อิเล็กโทน
6. ขับร้องสากล
7. เครื่องกระทบ
ฮาร์ป
ม. จุฬาฯ1.เครื่องลมเป่าไม้
(ฟลูท, คาริเน็ต, โอโบ, แซกโซโฟน, บาสซูน)
2. เครื่องลมทองเหลือง
(ฮอร์น, ทรัมเป็ต, ทรอมโบน, ยูโฟเนียม, ทูบา)
3. เครื่องสาย
(ไวโอลิน, วิโอลา, เชลโล, ดับเบิลเบส)
4. กีตาร์คลาสสิค
5. เปียโน
6. ขับร้องสากล
7. เครื่องกระทบ
8.ฮาร์ป
คีย์บอร์ด, อิเล็กโทน, กีตาร์ไฟฟ้า, กีตาร์เบส
สถาบันกัลยา1. เครื่องเป่าลมไม้
(ฟลูท, โอโบ, คลาริเน็ต, บาสซูน, แซกโซโฟน)
2. เครื่องลมทองเหลือง
(ฺฮอร์น, ทรัมเป็ต, ทรอมโบน, ทูบา, ยูโฟเนียม)
3.. เครื่องสาย
(ไวโอลิน, วิโอลา, เชลโล, ดับเบิลเบส)
4. กีตาร์คลาสสิค
5. เปียโน
6. ขับร้องสากล
7. เครื่องกระทบ
8. ฮาร์ป
คีย์บอร์ด, อิเล็กโทน, กีตาร์ไฟฟ้า, กีตาร์เบส

เปรียบเทียบระบบการสอบและวิชาที่สอบเข้าเรียนต่อในคณะดนตรีของแต่ละมหาวิทยาลัย

การสอบเข้าคณะดนตรีของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้น โดยรวมๆแล้วเรื่องที่สอบก็จะคล้ายๆกัน นักเรียนจะต้องสอบวิชาปฏิบัติ สอบทฤษฎีดนตรีและสอบวิชาเฉพาะของสาขาที่เลือก

แต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีระบบการสอบที่แตกต่างกัน บางที่รับสมัครแค่ 2 รอบ บางที่รับสมัครถึง 6 รอบ เกณฑ์มาตรฐานในการวัดระดับของนักเรียนก็แตกต่างกัน ความยากง่ายของเกรดที่สอบก็ไม่เหมือนกัน

ครูได้ทำตารางเปรียบเทียบระบบการสอบและวิชาที่ใช้สอบของมหาวิทยาลัยทั้ง 5 แห่ง ให้นักเรียนได้ศึกษากันดูตามตารางด้านล่างเลยค่ะ

สถาบันระบบการจัดสอบวิชาที่ต้องสอบ
ม. มหิดล
-สอบตรงกับทางวิทยาลัย
– เทียบวุฒิสอบภาคทฤษฎีกับ TIME
1. ปฏิบัติเครื่องมือเอก – สอบเพลงและเทคนิค
(ความยากระดับเกรด 8Trinity/Royal ขึ้นไป)
2. สอบเทียบระบบ TIME
– ทฤษฎีดนตรีไทย/สากล
– โสตทักษะ
ม.ศิลปากรสอบตามระบบ TCAS
มีสอบ 3 รอบ
1. Portfolio
2. Quota
3. สอบตรง (TCAS รอบ4)
1. ปฏิบัติเครื่องมือเอก – สอบเพลงและเทคนิค
2. สอบภาคทฤษฎีและโสตทักษะ
ม. รังสิตสอบตรงกับมหาวิทยาลัย
มีสอบ 6 รอบ
1. ปฏิบัติเครื่องมือเอก – สอบเพลงและเทคนิค
(ความยากระดับเกรด 3-5 Trinity/Royal)
2. สอบภาคทฤษฎีและโสตทักษะ
ม. จุฬาสอบตามระบบ TCAS
มีสอบ 2 รอบ
1. Portfolio
2. Quota
1. ปฏิบัติเครื่องมือเอก
-สอบเพลง 2-3 เพลงแล้วแต่เครื่องมือ
-scale, arpeggio
– sight singing, sight reading
2. สอบภาคทฤษฎี (เกรด4 สอบเทียบจุฬาฯ)
3.โสตทักษะ
-ฟังเสียงขั้นคู่แล้วร้องตามเสียงที่กำหนด
– ฟังทำนองเพลงแล้วร้อง
-ฟังทำนองเพลงแล้วปรบมือ
4. ประวัติศาสตร์ดนตรี
สถาบันกัลยาสอบตามระบบ TCAS
มีสอบ 3 รอบ
1. Portfolio
2. Quota
3. สอบตรง (TCAS รอบ4)
1.สอบปฎิบัติเครื่องดนตรี (50%) -สอบเพลงและเทคนิค
2.ทฤษฎีดนตรีตะวันตก (15%) 
3.ประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก (15%) 
4.โสตทักษะ (10%) 

เอาล่ะค่ะหวังว่านักเรียนคงได้ข้อมูลคร่าวๆเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยดนตรีทั้ง 5 แห่งกันไปพอสมควร นักเรียนคนใดสนใจมหาวิทยาลัยไหนเป็นพิเศษ อย่าลืมว่าสามารถกดลิงค์เพื่อดูรายละเอียดของแต่ละมหาวิทยาลัยได้ตามนี้เลยค่ะ

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล
คณะดุริยางคศาสตร์ ม.ศิลปากร
วิทยาลัยดนตรี ม.รังสิต
คณะคณะครุศาสตร์ และคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันดนตรีกัลยานิวัฒนา