คู่มือการสอบเข้าดนตรีจุฬา

ครูได้ทำตารางเปรียบเทียบมหาวิทยาลัยดนตรี 5 แห่งในอีกบทความหนึ่ง สามารถคลิกดูได้ที่นี่ เรียนดนตรีมหาวิทยาลัยไหนดี- เปรียบเทียบ ม. ดนตรี 5 แห่ง และหากเพื่อนๆสนใจเตรียมสอบเข้า ครูเขียนบทความ เตรียมสอบเข้าเอกดนตรีต้องสอบทฤษฎีเรื่องอะไรบ้าง สามารถคลิกเข้าไปอ่านได้ ที่นี่ ค่ะ

จุฬาลงกรณ์เปิดสอนดนตรีคณะอะไรบ้าง

การเรียนการสอนวิชาดนตรีในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นมีการเรียนการสอนวิชาดนตรีอยู่ 2 คณะได้แก่ คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาดุริยางคศิลป์และคณะคุรุศาสตร์ สาขาวิชาดนตรีศึกษา โดยคณะศิลปกรรมศาสตร์จะเน้นสอนเพื่อให้นักเรียนออกมาเป็นศิลปิน ส่วนคณะคุรุศาสตร์จะเน้นสอนเพื่อให้นักเรียนออกมาเป็นครูสอนดนตรี

ตารางเปรียบเทียบคณะศิลปกรรมจุฬาสาขาดุริยางคศาสตร์และคณะคุรุศาสตร์สาขาดนตรีศึกษา (เฉพาะป. ตรี)

รายละเอียดศิลปกรรมสาขาดุริยางคศาสตร์คุรุศาสตร์สาขาดนตรีศึกษา
ระดับที่เปิดสอน ปริญญาตรี โท เอกปริญญาตรี โท เอก
สาขาที่เปิดสอน1. ดุริยางคศิลป์ไทย
2. ดุริยางคศิลป์ตะวันตก
1. วิชาเอกดนตรีศึกษา
2. วิชาเอกการสอนดนตรีไทย
3. วิชาเอกการสอนดนตรีสากล
การสอบเข้า1. รอบ portfolio
2. รอบโควต้า
1. รอบ portfolio
2. รอบโควต้า
จุดประสงค์ของการเรียนเรียนเพื่อเป็นศิลปินหรือทำงาน
ในด้านดนตรีในแขนงต่างๆ
เรียนเพื่อเป็นครูสอนดนตรี
จำนวนที่รับ
รอบ 1 = ดนตรีไทย 9 คน
ดนตรีสากล 9คน
รอบ 2 = ดนตรีไทย 2 คน
ดนตรีสากล 2 คน
สาขาดนตรีศึกษา
รอบ 1 = ดนตรีไทย 5 คน
ดนตรีสากล 5คน
รอบ 2 = ดนตรีไทย 1 คน
ดนตรีสากล 2 คน

สำหรับบทความนี้ครูจะให้รายละเอียดเฉพาะระดับปริญญาตรีเท่านั้นนะคะ สำหรับใครที่สนใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สามาาถเช็คได้จากทางเว็บของคณะโดยตรงค่ะ

วิชาที่สอบสาขาดนตรีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีอะไรบ้าง

  1. นักเรียนต้องมีผลคะแนนการทดสอบวิชาสามัญที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) จัดสอบ โดยจะต้องมีคะแนนสอบวิชา ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  2. วิชาทฤษฎีดนตรีไทยและสากล
  3. สอบปฏิบัติดนตรีไทยและสากลตามเครื่องมือเอกที่เลือก

นักเรียนสามารถดูรายละเอียดเรื่องที่ต้องสอบและเกณฑ์การให้คะแนนเพิ่มเติมได้ดังนี้ 12.appArtr2_65.pdf (chula.ac.th)

ภาควิชาทฤษฎีสากลของจุฬาฯต้องสอบเรื่องอะไรบ้าง

ในการสอบภาคทฤษฎีดนตรีนั้น นักเรียนจะต้องมีความรู้ในเรื่องทฤษฎีดนตรีพื้นฐาน ประวัติศาสตร์และความรู้ทางด้านดนตรีทั่วไปดังนี้

  • การอ่านโน้ต จังหวะ
  • บันไดเสียง major ,minor
  • ขั้นคู่เสียง
  • ทรัยแอด
  • การวิเคราะห์ดนตรี (ระดับเสียง, จังหวะ, ความดังเบา, สีสันของเสียง, ทำนองเพลง, ความรู้สึก, การประสานเสียง, ฟอร์มของเพลง)
  • ประเภทของเครื่องดนตรีสากลและลักษณะของเสียงในเครื่องดนตรีแต่ละประเภท
  • ลักษณะของดนตรีในแต่ละยุค
  • นักประพันธ์เพลงและบทเพลงที่สำคัญ
  • คำศัพท์ทางดนตรี

ต่อไปเราครูจะอธิบายรายละเอียดของแต่ละสาขาว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างทั้งจำนวนที่รับสมัคร วิชาที่เรียนและค่าเทอมของทั้ง 2 สาขา ดังนี้ค่ะ


1. ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) สาขาดุริยางคศิลป์

การเรียนดนตรีสาขาศิลปกรรม นักเรียนจะไม่ได้วุฒิครูนะคะ เพราะการเรียนในสาขานี้จะเน้นให้นักเรียนออกมาเป็นศิลปินค่ะ แต่นักเรียนก็สามารถสอนได้ค่ะ ไม่ว่าจะตามโรงเรียนเอกชนหรือโรงเรียนดนตรีต่างๆ ซึ่งคณะศิลปกรรมจุฬาเปิดสอนในระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก โดย สาขาดุริยางคศิลป์ มี 2 วิชาเอกได้แก่

1 ดุริยางคศิลป์ไทย (Thai Music)

2 ดุริยางคศิลป์ตะวันตก (Western Music)

การสอบเข้าคณะศิลปกรรมดนตรีจุฬามีกี่รอบและรับกี่คน

การสอบเข้าเพื่อจะเรียนต่อทางด้านดนตรีในคณะศิลปกรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะสอบตามระบบ TCAS มีทั้งหมด 2 รอบ คือ 1. การยื่นแฟ้มผลงาน โดยรอบนี้จะรับนักเรียนจำนวน 36 คน โดยแบ่งเป็นเอกดุริยางคศิลป์ไทย 18 คนและดุริยางคศิลป์สากล 18 คน 2. รอบโควต้า รับจำนวน 4 คน โดยแบ่งเป็นเอกดุริยางคศิลป์ไทย 2 คนและดุริยางคศิลป์สากล 2คน

การสอบจะเป็นการสอบระบบ TCAS ซึ่งจะมีสอบทั้งหมด 2 รอบดังนี้

รอบที่ 1 รอบยื่นแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

นักเรียนสามารถสมัครได้ทางเว็บไซต์ TCAS CHULA รับสมัครช่วงเดือน ธันวาคม

วิชาเอกดุริยางคศิลป์ไทย – รับจำนวน 18 คน

วิชาเอกดุริยางคศิลป์สากล – รับจำนวน 18 คน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 27.AppArts_r1-65_.pdf (chula.ac.th)

รอบที่ 2 โควต้า (Quota)

นักเรียนสามารถสมัครได้ทางเว็บไซต์ TCAS CHULA รับสมัครช่วงเดือนกุมภาพันธ์

วิชาเอกดุริยางคศิลป์ไทย – รับจำนวน 2 คน

วิชาเอกดุริยางคศิลป์สากล – รับจำนวน 2 คน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ CHULA TCAS | Quota

วิชาที่ใช้ในการสอบเข้าคณะศิลปศาสตร์(ดนตรี) จุฬาฯ มีอะไรบ้าง

  1. ภาษาไทย
  2. ภาษาอังกฤษ
  3. ทฤษฎีดุริยางคศิลป์ไทย (กรณีที่เลือกเอกดนตรีไทย)
  4. ทฤษฎีดุริยางคศิลป์ตะวันตก (กรณีที่เลือกเอกดนตรีสากล)
  5. ทักษะดุริยางคศิลป์ไทย (กรณีที่เลือกเอกดนตรีไทย)
  6. ทักษะดุริยางคศิลป์ตะวันตก (กรณีที่เลือกเอกดนตรีสากล)

การคำนวณคะแนนในรายวิชาต่างๆเพื่อเข้าศึกษาในคณะศิลปศาสตร์(ดนตรี) จุฬาฯ

รายวิชาเปอร์เซ็นในการคิดคะแนน
(ดุริยางคศิลป์ไทย)
เปอร์เซ็นในการคิดคะแนน
(ดุริยางคศิลป์ตะวันตก)
ภาษาไทย10%10%
ภาษาอังกฤษ10%10%
ทฤษฎีดุริยางคศิลป์ไทย/ตะวันตก20%20%
ทักษะดุริยางคศิลป์ไทย/ตะวันตก60%60%
เกณฑ์ขั้นต่ำวิชาทักษะ50 %70%

การสอบภาคปฏิบัติดุริยางคศิลป์สากล ศิลปกรรม จุฬาฯมีอะไรบ้าง

  1. การบรรเลงบทเพลง – ขับร้องหรือบรรเลงเพลง 2 เพลงที่ต่างยุคกัน
  2. การสอบ scale และ arpeggio ในคีย์ Major และ Minor รวมถึง Chromatic
  3. sight singing (สำหรับนักร้อง) และ sight reading (สำหรับนักดนตรี)
  4. การสอบโสตประสาท

รายวิชาที่น่าสนใจของคณะศิลปศาสตร์ ดุริยางคศิลป์มีอะไรบ้าง

ดุริยางคศิลป์ไทย

  • การบริหารจัดการแสดงทางดุริยางคศิลป์
  • หลักการประพันธ์เพลงไทย
  • การวิจัยดุริยางคศิลป์
  • การฝึกวิชาชีพดุริยางค์ไทย

ดุริยางคศิลป์สากล

  • สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์เพลงตะวันตก
  • การประสานเสียง
  • การแยกเสียงสำหรับวงดนตรี
  • ภาษาเยอรมันสำหรับนิสิตดุริยางค์
  • อิตาเลียนเบื้องต้นสำหรับคนดนตรี
  • การบรรเลงวงแชมเบอร์

2.ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) ดนตรีศึกษา

นักเรียนที่เรียนดนตรีคณะคุรุศาสตร์บัณฑิตจะเน้นการเรียนเพื่อให้นักเรียนไปประกอบอาชีพเป็นครูสอนดนตรีค่ะ ถ้านักเรียนจบจากที่นี่ก็จะได้วุฒิครูด้วยค่ะ

คณะครุศาสตร์จุฬาฯ สาขาวิชาดนตรีศึกษา เปิดสอนในระดับใดบ้าง

คณะครุศาสตร์จุฬาฯ สาขาวิชาดนตรีศึกษามีเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ระดับปริญญาตรีมีให้เลือก 3 สาขาได้แก่ วิชาเอกดนตรีศึกษา วิชาเอกการสอนดนตรีไทย วิชาเอกการสอนดนตรีสากล

รายวิชาที่น่าสนใจในของคณะคุรุศาสตร์บัณฑิต (ดนตรีศึกษา)

วิชาเอกดนตรีศึกษา

  • วิชาการสอนดนตรีตามแนวของ Orff
  • วิชาการสอนดนตรีตามแนวของ Kodaly
  • วิชาการสอนดนตรีตามแนวของ Dalcroze
  • วิชาการสอนดนตรีสำหรับเด็กพิเศษ

วิชาเอกการสอนดนตรีไทย

  • วิชาสังคีตลักษณ์การวิเคราะห์เพลงไทย
  • วิชากลวิธีการสอนดนตรีไทย
  • วิชาการปรับวงและควบคุมการบรรเลงดนตรีไทย
  • วิชาทักษะเครื่องมือเอก การรวมวงดนตรีไทย

วิชาเอกการสอนดนตรีสากล

  • วิชาการประพันธ์เพลงขั้นสูง
  • วิชากลวิธีการสอนดนตรีสากล
  • วิชาการขับร้องประสานเสียง
  • วิชาสังคีตลักษณ์การวิเคราะห์เพลงไทย
  • วิชากลวิธีการสอนดนตรีไทย
  • วิชาการปรับวงและควบคุมการบรรเลงดนตรีไทย
  • วิชาทักษะเครื่องมือเอก การรวมวง

การสมัครสอบเข้าดนตรีศึกษา คุรุศาสตร์จุฬาฯทำอย่างไร

การสมัครสอบเข้าเรียนสาขาดนตรีศึกษาของคณะคุรุศาสตร์จุฬาจะมีสอบตามระบบ TCAS ซึ่งคณะคุรุศาสตร์จะมีสอบทั้งหมด 2 รอบดังนี้

รอบที่ 1 รอบยื่นแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

นักเรียนสามารถสมัครได้ทางเว็บไซต์ TCAS CHULA ช่วงเดือนธันวาคม

รับนักเรียนทั้งหมด 10 คน ประกอบด้วย

  1. สาขาวิชาดนตรีศึกษา เครื่องมือเอกดนตรีไทย รับจำนวน 5 คน
  2. สาขาวิชาดนตรีศึกษา เครื่องมือเอกดนตรีสากล รับจำนวน 5 คน

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าดนตรีศึกษาคณะคุรุศาสตร์ จุฬาฯ

  1. ผู้สมัครเครื่องมือเอกดนตรีไทย – นักเรียนมีแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ความสามารถพิเศษทางด้านดนตรีไทย โดยมีผลงานการแสดง เผยแพร่และ/หรือ การประกวดดนตรีไทย ทั้งนี้จะต้องเป็นผลงานการแสดงที่เกิดขึ้นในขณะที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา
  2. ผู้สมัครเครื่องมือเอกดนตรีสากล – นักเรียนมีแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ความสามารถพิเศษทางด้านดนตรีสากล ซึ่งมีผลงานการแสดงขับร้องเพลงสากลเดี่ยว (แนวเพลงคลาสสิก) หรือมีการบรรเลงเดี่ยวเครื่องมือดนตรีสากลในเครื่องมือที่สมัคร (แนวเพลงคลาสสิก) โดยบทเพลงที่บรรเลงมีระดับเทียบเท่าหรือสูงกว่าเกรด 8 ของ สถาบัน Royal (ABRSM) หรือ Trinity หรือผลงานการรวมวงในระดับภาค/ภูมิภาค/ระดับชาติ/นานาชาติ และผลงานต้องเกิดขึ้นขณะที่ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา

เอกสารการสมัครสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ประกาศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (chula.ac.th)

รอบที่ 2 โควต้า (Quota)

จำนวนนักเรียนที่รับมีดังนี้

  • สาขาวิชาดนตรีศึกษา – เครื่องมือเอกดนตรีไทย จำนวน 1 คน
  • สาขาวิชาดนตรีศึกษา – เครื่องมือเอกดนตรีสากล จำนวน 2 คน

วิชาที่ใช้ในการสอบเข้าคณะคุรุศาสตร์ (ดนตรี) จุฬาฯ มีอะไรบ้าง

1.นักเรียนต้องมีผลคะแนนการทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) และความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT) ที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) จัดสอบ

2. นักเรียนต้องเข้ารับการทดสอบวิชาเฉพาะทฤษฎีและทักษะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดสอบ ซึ่งวิชาเฉพาะทฤษฎีก็จะแบ่งเป็น วิชาทฤษฎีดนตรีไทยและวิชาทฤษฎีดนตรีตะวันตก ทั้งนี้เลือกสอบตามสาขาที่เราเลือก สำหรับผู้สมัครเครื่องมือดนตรีเอกสากล คณะคุรุศาสตร์สามารถใช้ผลการสอบวิชาทฤษฎีดนตรีสากลเกรด 4 ที่จะสอบโดยคณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแทนการสอบวิชาทฤษฎีดนตรีสากลได้ค่ะ

3. วิชาเฉพาะทักษะ คือวิชาทักษะดนตรีไทย (สำหรับผู้สมัครเครื่องมือเอกดนตรีไทย) หรือวิชาทักษะดนตรีสากล (สำหรับผู้สมัครเครื่องมือเอกดนตรีสากล)

นักเรียนสามารถดูรายละเอียดว่าต้องสอบทฤษฎีหรือทักษะเฉพาะเรื่องอะไรบ้างได้จากลิงค์นี้เลยค่ะ 6.EDU_music2_65.pdf (chula.ac.th)

สอบปฏิบัติเข้าคณะดุริยางคศาสตร์ คุรุศาสตร์จุฬาฯมีสอบอะไรบ้าง

1. ปฏิบัติเครื่องมือเอก -สอบเพลง 2-3 เพลงแล้วแต่เครื่องมือ
2. การสอบปฏิบัติ scale, arpeggio ไม่เกิน 4# 4b, chromatic
3. การสอบ sight singing, sight reading
4. สอบสัมภาษณ์ความรู้ทางด้านดนตรีเพิ่มโดยคณะกรรมการสอบ
5.การทดสอบโสตประสาทด้านเสียงและจังหวะ
-ฟังเสียงขั้นคู่แล้วร้องตามเสียงที่กำหนด
– ฟังทำนองเพลงแล้วร้อง
-ฟังทำนองเพลงแล้วปรบมือ

ทฤษฎีดนตรีสากลของคณะคุรุศาสตร์จุฬาฯสอบอะไรบ้าง

  1. ทฤษฎีโน้ต – กุญแจประจำหลัก, time signature และการ Grouping note, key signature, ขั้นคู่เสียง, บันไดเสียง, ทรัยแอด, คอร์ด, ศัพท์สังคีต, เครื่องหมายทางดนตรี
  2. 2.ประวัติศาสตร์ดนตรี
  3. ประวัติและผลงานของผู้ประพันธ์เพลงเอกของโลก
  4. เครื่องดนตรีและการประสมวง
  5. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดนตรีสากลในปัจจุบัน
  6. ประวัติศาสตร์ดนตรี
  7. ประวัติและผลงานของผู้ประพันธ์เพลงเอกของโลก
  8. เครื่องดนตรีและการประสมวง
  9. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดนตรีสากลในปัจจุบัน

ค่าเทอมในการเรียนคณะดนตรีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะค่าเทอม
ต้น/ปลาย
ค่าเทอม
ฤดูร้อน
ศิลปกรรมสาขาดุริยางคศิลป์21,0005,250
คุรุศาสตร์บัณฑิตสาขาดนตรีศึกษา17,0005,250

ทุนการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีอะไรบ้าง

สำหรับนักเรียนที่กำลังมองหาทุนอยู่ ที่มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ก็มีทุนให้เยอะมากถึง 600 ล้านบาทต่อปีเลยค่ะ โดยมีทุนดังนี้ค่ะ

  • ทุนอุดหนุนการศึกษา
  • ทุนรางวัลเรียนดี
  • ทุนสร้างชื่อเสียงและทำคุณประโยชน์

นอกจากนี้ก็ยังมีแหล่งทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากภายนอกได้แก่

  • กองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.)
  • ทุนการศึกษาจากหน่วยงานภายนอก

นักเรียนสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ทุนการศึกษา – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (chula.ac.th)

ใครที่กำลังเตรียมตัวสอบเข้าดนตรีจุฬาปีหน้า ไปฟิตซ้อมกันไว้เลยค่ะ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.chula.ac.th

ผลงานของศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงของคณะดนตรี จุฬาฯ

ขนมจีน
อิงค์ วรันธร
ซิลวี The Star
อาเมน The Star